วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการเล่นวอลเลย์บอล

 
พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล (ตอนที่ 1)
วอลเลย์บอล เป็นกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีมที่ประกอบด้วยผู้เล่นหลายคน ในการสร้างทีมวอลเลย์บอลจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของการเล่นวอลเลย์บอลเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทีม โดยองค์ประกอบในการเล่นที่ควรพิจารณาคือ
1. ตำแหน่งการเล่นของผู้เล่นในทีม
2. ตำแหน่งของผู้เล่นที่ลงสนาม 6 คน
3. รูปแบบการรับลูกเสริฟ
4. รูปแบบการรุก
5. รูปแบบการรองบอล
6. รูปแบบการรับ  
ตำแหน่งของผู้เล่นในทีม
กระบวน การเริ่มแรกของการสร้างทีมวอลเลย์บอลก็คือ การพิจารณาคัดเลือกผู้เล่นแต่ละตำแหน่งเข้าร่วมทีม เราควรจะต้องรู้ความสามารถของนักกีฬา ลักษณะทางกายภาพ ความสามารถพิเศษของนักกีฬาแต่ละคนเป็นอย่างไร และแต่ละทีมควรจะมีผู้เล่นลักษณะใดบ้างเพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จตามแนวทาง ที่เราต้องการ
คุณสมบัติของผู้เล่นลักษณะต่าง ๆ
ผู้เล่นตบบอลหลัก – จะเป็นผู้เล่นที่มีความสามารถในการตบบอลได้ดี มีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง ความสามารถในการตบบอลของตัวตบบอลหลักสำหรับนักกีฬาชายควรประสบความสำเร็จใน การตบบอลไม่น้อยกว่า 50 % ส่วนนักกีฬาหญิงควรไม่น้อยกว่า 40 %
ผู้เล่นตบบอลเร็ว – จะเป็นผู้เล่นที่มีความสามารถในการตบบอลเร็วได้หลากหลาย เช่น บอลเร็วหน้า/หลัง ห่างตัวเซต หรือการเขย่งตบ และต้องมีการประสานงานกับผู้เล่นตัวเซตได้ดี
ผู้เล่นตัวเซต – ทำหน้าที่เซตบอลให้ตัวตบในลักษณะต่างๆ มีความสามารถในการเซต ควบคุมจังหวะ ทิศทางลูกบอลได้ดี โดยเฉพาะการเซตให้ผู้เล่นตัวตบบอลเร็ว ผู้เล่นตัวเซตถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของทีม
ผู้เล่นอเนกประสงค์ – เป็นผู้เล่นที่มีความสามารถทุกทักษะเช่น การเซต การสกัดกั้น การตบ การเสริฟ และการรับลูกเสริฟ
Combined Attacker (ผู้เล่นตบบอล B หรือผู้เล่นที่ตำแหน่งตรงข้ามตัวเซต) – ผู้เล่นตำแหน่งนี้ที่มักเรียกกันว่าตัวตบบอล B จะ มีความสามารถในการรุกแบบผสม รุกจากหัวเสาด้านหลัง และรุกจากแดนหลัง ถ้าเป็นผู้เล่นที่ถนัดมือซ้ายจะได้เปรียบ เป็นผู้เล่นที่ค่อนข้างมีความสำคัญต่อทีม
ผู้เล่นตัวรับ – แต่ละทีมนอกจากมีผู้เล่นตัวรับอิสระแล้ว อาจจะต้องมีผู้เล่นที่มีทักษะการรับที่ดีไว้ช่วยการรับของทีม
ตำแหน่งของผู้เล่นในสนาม
การ วางตำแหน่งผู้เล่นในสนาม 6 คนแรกขึ้นอยู่กับระบบการเล่นที่เราจะเลือกใช้สำหรับทีม ซึ่งเราต้องพิจารณาว่าจะใช้ระบบการเล่นใดที่จะเหมาะสมกับทีมเราที่สุด
(อ่านเพิ่มเติม)                           
1. ทำความรู้จักระบบการเล่น 1 http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/03/entry-1
2. ทำความรู้จักระบบการเล่น 2
http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/04entry-1     
การยืนตำแหน่งหลังจากการเสริฟ                                         
เมื่อ ทีมเป็นฝ่ายได้สิทธิ์ในการเสริฟ หลังจากที่ผู้เล่นเสริฟบอลไปแล้วผู้เล่นทุกคนจะต้องยืนประจำตำแหน่งของตนเอง เพื่อเตรียมทำการป้องกันการรุกของคู่ต่อสู้ โดยทั่วไปรูปแบบของตำแหน่งหลังจากการเสริฟมีดังนี้
รูปแบบที่ 1
ผู้เล่นแดนหน้า – ผู้ เล่นตัวกลางหน้ายืนชิดตาข่ายเพื่อเตรียมสกัดกั้นบอลเร็ว ผู้เล่นตัวริมซ้ายและขวายืนห่างตาข่ายเล็กน้อยเพื่อเตรียมสกัดกั้นหรือถอย ออกมารับลูกตบ

ผู้เล่นแดนหลัง – ผู้เล่นตำแหน่ง 2 และ 5 ยืนใกล้เส้นรุกเพื่อรอรับลูกหยอดหรือลูกตบบอลเร็ว ผู้เล่นตำแหน่ง 6 อยู่ตรงกลางห่างจากท้ายสนามประมาณ 1-2 เมตร

รูปแบบที่ 2

ผู้เล่นแดนหน้า – ตำแหน่งการยืนเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 1
ผู้เล่นแดนหลัง – ผู้เล่นตำแหน่ง 2 และ 5 ยืนห่างจากเส้นรุกประมาณ 2-3 เมตร ผู้เล่นตำแหน่ง 6 อยู่ใกล้เส้นรุกเพื่อรอรับบอลหยอดหรือบอลเร็ว

พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล (ตอนที่ 2)

  พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล (ตอนที่ 2)
พื้นฐานองค์ประกอบในการเล่นวอลเลย์บอลที่ผมจะนำเสนอในตอนนี้เป็นองค์ประกอบหลัก สำคัญที่เราพบในการแข่งขันเสมอ คือการรุก การรองบอลและการรับ โดยในตอนนี้จะเป็นเรื่องของการรุกและการรองบอล
การรุก
การ รุกหรือโจมตีในกีฬาวอลเลย์บอลมี 2 วิธีหลักๆ คือ การตบและการหยอด ซึ่งการตบหรือหยอดก็จะมีหลากหลายรูปแบบ การใช้วิธีการตบลักษณะใดขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ประสบการณ์และคู่ต่อสู้
การตบบอลลักษณะต่าง ๆ
1. การตบบอลที่เซตสูง
การ ตบบอลที่เซตมาสูงหรือที่เรามักเรียกกันว่า บอลโค้ง หรือบอลหัวเสา เป็นวิธีการรุกพื้นฐานที่ควรแนะนำสำหรับทีมในระดับเริ่มต้น แต่อย่างไรก็ตามการตบบอลลักษณะนี้ยังใช้ได้ในทีมทุกระดับ
2. การตบบอลเร็วหัวเสา
บอลลักษณะนี้เรามักเรียกกันว่าบอล Y เป็นบอลที่คล้ายกับบอลโค้งหัวเสาแต่มีความเร็วมากกว่าและเตี้ยกว่าบอลโค้งหัวเสา

พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล ตอนที่ 3

 พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล ตอนที่ 3
การรับตบ
การ ตั้งรับลูกตบเป็นส่วนหนึ่งในระบบการป้องกันการรุกของคู่ต่อสู้ ซึ่งมีความสำคัญในสถานการณ์การแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเภททีมหญิง หลายครั้งในการแข่งขันจะพบว่าแต่ละทีมมักจะปล่อยให้ลูกบอลตกพื้นโดยที่ไม่มี ผู้เล่นคนใดรับบอล การฝึกซ้อมระบบการรับจะทำให้นักกีฬารู้ตำแหน่งและหน้าที่ว่าต้องรับผิดชอบ พื้นที่ใดและควรจะเล่นลูกลักษณะไหน ในการเล่นเกมรับผู้เล่นทุกคนควรจะคาดคะเนทิศทาง จังหวะการตบบอลของคู่ต่อสู้และเตรียมตัวให้พร้อม รักษาตำแหน่งให้ถูกต้องก่อนที่คู่ต่อสู้จะตบบอล การคาดคะเนทิศทางและปฏิกิริยาการรับบอลที่รวดเร็วเป็นสิ่งจำเป็นในการเล่น วอลเลย์บอลสมัยใหม่
ระบบการตั้งรับ
ระบบ การตั้งรับมีหลายแบบโดยพิจารณาจากความสามารถของผู้เล่น ระบบการสกัดกั้นของทีมจำนวนผู้สกัดกั้นการรุกของคู่ต่อสู้โดยทั่วไปจะมีดัง นี้
1. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 1 คน
2. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 2 คน
3. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 3 คน
การตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้น 2 คน             
การ สกัดกั้นโดยใช้ผู้เล่น 2 คน เป็นระบบการสกัดกั้นพื้นฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการแข่งขันปัจจุบัน การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 2 คนจากการรุกของคู่ต่อสู้ในลักษณะต่าง ๆ มีรูปแบบดังนี้
การตั้งรับการรุกจากหน้าซ้าย (หัวเสา)
ใน การแข่งขันเรามักจะพบการรุกจากหัวเสามากที่สุดด้วยปัจจัยหลายอย่าง จากภาพประกอบรูปแบบการตั้งรับการรุกจากหัวเสาผู้เล่นตำแหน่ง 1 (หลังขวา) จะยืนห่างจากเส้นรุกประมาณ 2-3 เมตร ผู้เล่นตำแหน่ง 4 (หน้าซ้าย) จะต้องถอยมาตั้งรับบริเวณเส้นรุก
การ ตั้งรับการรุกจากหัวเสามีสิ่งที่ต้องระวังคือการรับลูกหยอดของคู่แข่ง การระวังรับลูกหยอดในระบบนี้อาจใช้ผู้เล่นตำแหน่ง 1 หรือตำแหน่ง 4 เป็นคนคอยระวังรับลูกหยอด (ดูภาพประกอบ)
ภาพ A-B
ผู้เล่นตำแหน่ง 2 ระวังรับลูกหยอด
ภาพ C
ผู้เล่นตำแหน่ง 4 ระวังรับลูกหยอด
การตั้งรับการรุกจากหน้าขวา (หัวเสาหลังตัวเซต)
การตั้งรับจะคล้ายคลึงกับการรุกจากหน้าซ้าย แตกต่างกันที่ผู้เล่นตำแหน่ง 2 ไม่ได้สกัดกั้น จะต้องถอยมาตั้งรับเช่นเดียวกัน
การตั้งรับการรุกจากตรงกลาง
                                  
ผู้เล่นหน้าซ้ายหรือขวาที่ไม่ได้สกัดกั้นจะต้องถอยตั้งรับเช่นเดียวกัน
การตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้น 1 คน             
การ ตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้นเพียงคนเดียว ไม่ว่าผู้เล่นแดนหน้าคนใดสกัดกั้น ผู้เล่นแดนหน้าที่ไม่ได้สกัดกั้นจะต้องถอยลงมาตั้งรับ (ดูภาพประกอบ)
การตั้งรับการรุกจากหน้าซ้าย (หัวเสา)
ผู้เล่นตำแหน่ง 3 (กลางหน้า) ถอยลงมารอรับลูกหยอด
การตั้งรับการรุกจากหน้าขวา (หัวเสาหลังตัวเซต) และตรงกลาง
                                 
การตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้น 3 คน             
การ สกัดกั้นโดยใช้ผู้เล่น 3 คน มักใช้ในกรณีที่ผู้เล่นตัวตบของคู่ต่อสู้ตบบอลได้รุนแรงรับยาก ระบบนี้จะทำให้เหลือผู้เล่นตั้งรับเพียง 3 คน (ดูภาพประกอบ)
การตั้งรับการรุกจากหน้าซ้าย (หัวเสา)
การตั้งรับการรุกจากตรงกลางและการตั้งรับการรุกจากหน้าขวา (หัวเสาหลังตัวเซต)
อย่างไรก็ดีการตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 3 คนยังสามารถปรับระบบการตั้งรับโดยให้มีผู้เล่นทำหน้าที่รับบอลหยอด 1 คน (ดูภาพประกอบ)
การตั้งรับรูปแบบพิเศษ
กรณีที่ทีมมีผู้เล่นตัวเล็กไม่สามารถสกัดกั้นได้เมื่ออยู่หน้าตาข่าย อาจจะใช้ระบบการตั้งรับแบบพิเศษ (ดูภาพประกอบ)
ภาพ A ตำแหน่งเริ่มต้น
ภาพ
B ตำแหน่งพื้นฐานเตรียมสกัดกั้น
ภาพ
C ตำแหน่งสกัดกั้น
ผู้เล่นตัวเล็ก (S) อยู่ ตำแหน่งกลางหน้าไม่ต้องสกัดกั้น โดยถอยมารับบอลที่ตำแหน่ง 1 หรือ 5 (กรณีผู้เล่นตัวเซตอยู่แดนหลัง) การตั้งรับลักษณะนี้จะมีผู้เล่นอยู่บริเวณท้ายสนาม 2 คน
สำหรับ เรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอลที่นำเสนอต่อเนื่องมา 3 ตอนหวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับนักกีฬาและผู้ฝึกสอนที่สนใจกีฬาวอลเลย์บอล บ้างไม่มากก็น้อย


แหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/07/22/entry-1