พื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอล ตอนที่ 3
การรับตบ
การ
ตั้งรับลูกตบเป็นส่วนหนึ่งในระบบการป้องกันการรุกของคู่ต่อสู้
ซึ่งมีความสำคัญในสถานการณ์การแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเภททีมหญิง
หลายครั้งในการแข่งขันจะพบว่าแต่ละทีมมักจะปล่อยให้ลูกบอลตกพื้นโดยที่ไม่มี
ผู้เล่นคนใดรับบอล
การฝึกซ้อมระบบการรับจะทำให้นักกีฬารู้ตำแหน่งและหน้าที่ว่าต้องรับผิดชอบ
พื้นที่ใดและควรจะเล่นลูกลักษณะไหน
ในการเล่นเกมรับผู้เล่นทุกคนควรจะคาดคะเนทิศทาง
จังหวะการตบบอลของคู่ต่อสู้และเตรียมตัวให้พร้อม
รักษาตำแหน่งให้ถูกต้องก่อนที่คู่ต่อสู้จะตบบอล
การคาดคะเนทิศทางและปฏิกิริยาการรับบอลที่รวดเร็วเป็นสิ่งจำเป็นในการเล่น
วอลเลย์บอลสมัยใหม่
ระบบการตั้งรับ
ระบบ
การตั้งรับมีหลายแบบโดยพิจารณาจากความสามารถของผู้เล่น
ระบบการสกัดกั้นของทีมจำนวนผู้สกัดกั้นการรุกของคู่ต่อสู้โดยทั่วไปจะมีดัง
นี้
1. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 1 คน
2. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 2 คน
3. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 3 คน
2. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 2 คน
3. การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 3 คน
การตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้น 2 คน
การ
สกัดกั้นโดยใช้ผู้เล่น 2 คน
เป็นระบบการสกัดกั้นพื้นฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการแข่งขันปัจจุบัน
การตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 2 คนจากการรุกของคู่ต่อสู้ในลักษณะต่าง ๆ
มีรูปแบบดังนี้
การตั้งรับการรุกจากหน้าซ้าย (หัวเสา)
ใน
การแข่งขันเรามักจะพบการรุกจากหัวเสามากที่สุดด้วยปัจจัยหลายอย่าง
จากภาพประกอบรูปแบบการตั้งรับการรุกจากหัวเสาผู้เล่นตำแหน่ง 1 (หลังขวา)
จะยืนห่างจากเส้นรุกประมาณ 2-3 เมตร ผู้เล่นตำแหน่ง 4 (หน้าซ้าย)
จะต้องถอยมาตั้งรับบริเวณเส้นรุก

การ
ตั้งรับการรุกจากหัวเสามีสิ่งที่ต้องระวังคือการรับลูกหยอดของคู่แข่ง
การระวังรับลูกหยอดในระบบนี้อาจใช้ผู้เล่นตำแหน่ง 1 หรือตำแหน่ง 4
เป็นคนคอยระวังรับลูกหยอด (ดูภาพประกอบ)

ภาพ A-B
ผู้เล่นตำแหน่ง 2 ระวังรับลูกหยอด
ภาพ C
ผู้เล่นตำแหน่ง 4 ระวังรับลูกหยอด
การตั้งรับการรุกจากหน้าขวา (หัวเสาหลังตัวเซต)

การตั้งรับจะคล้ายคลึงกับการรุกจากหน้าซ้าย แตกต่างกันที่ผู้เล่นตำแหน่ง 2 ไม่ได้สกัดกั้น จะต้องถอยมาตั้งรับเช่นเดียวกัน
การตั้งรับการรุกจากตรงกลาง

ผู้เล่นหน้าซ้ายหรือขวาที่ไม่ได้สกัดกั้นจะต้องถอยตั้งรับเช่นเดียวกัน
การตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้น 1 คน
การ
ตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้นเพียงคนเดียว ไม่ว่าผู้เล่นแดนหน้าคนใดสกัดกั้น
ผู้เล่นแดนหน้าที่ไม่ได้สกัดกั้นจะต้องถอยลงมาตั้งรับ (ดูภาพประกอบ)
การตั้งรับการรุกจากหน้าซ้าย (หัวเสา)

ผู้เล่นตำแหน่ง 3 (กลางหน้า) ถอยลงมารอรับลูกหยอด
การตั้งรับการรุกจากหน้าขวา (หัวเสาหลังตัวเซต) และตรงกลาง

การตั้งรับโดยมีผู้เล่นสกัดกั้น 3 คน
การ
สกัดกั้นโดยใช้ผู้เล่น 3 คน
มักใช้ในกรณีที่ผู้เล่นตัวตบของคู่ต่อสู้ตบบอลได้รุนแรงรับยาก
ระบบนี้จะทำให้เหลือผู้เล่นตั้งรับเพียง 3 คน (ดูภาพประกอบ)
การตั้งรับการรุกจากหน้าซ้าย (หัวเสา)

การตั้งรับการรุกจากตรงกลางและการตั้งรับการรุกจากหน้าขวา (หัวเสาหลังตัวเซต)

อย่างไรก็ดีการตั้งรับโดยมีผู้สกัดกั้น 3 คนยังสามารถปรับระบบการตั้งรับโดยให้มีผู้เล่นทำหน้าที่รับบอลหยอด 1 คน (ดูภาพประกอบ)

การตั้งรับรูปแบบพิเศษ
กรณีที่ทีมมีผู้เล่นตัวเล็กไม่สามารถสกัดกั้นได้เมื่ออยู่หน้าตาข่าย อาจจะใช้ระบบการตั้งรับแบบพิเศษ (ดูภาพประกอบ)

ภาพ A ตำแหน่งเริ่มต้น
ภาพ B ตำแหน่งพื้นฐานเตรียมสกัดกั้น
ภาพ C ตำแหน่งสกัดกั้น
ภาพ B ตำแหน่งพื้นฐานเตรียมสกัดกั้น
ภาพ C ตำแหน่งสกัดกั้น
ผู้เล่นตัวเล็ก (S) อยู่
ตำแหน่งกลางหน้าไม่ต้องสกัดกั้น โดยถอยมารับบอลที่ตำแหน่ง 1 หรือ 5
(กรณีผู้เล่นตัวเซตอยู่แดนหลัง)
การตั้งรับลักษณะนี้จะมีผู้เล่นอยู่บริเวณท้ายสนาม 2 คน
สำหรับ
เรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานรูปแบบการเล่นของทีมวอลเลย์บอลที่นำเสนอต่อเนื่องมา 3
ตอนหวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับนักกีฬาและผู้ฝึกสอนที่สนใจกีฬาวอลเลย์บอล
บ้างไม่มากก็น้อยแหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/volleyball/2010/07/22/entry-1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น