วอลเลย์บอล
เป็นกีฬาที่ต้องเล่นเป็นทีมที่ประกอบด้วยผู้เล่นหลายคน
ในการสร้างทีมวอลเลย์บอลจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ
ของการเล่นวอลเลย์บอลเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทีม
โดยองค์ประกอบในการเล่นที่ควรพิจารณาคือ
1. ตำแหน่งการเล่นของผู้เล่นในทีม
2. ตำแหน่งของผู้เล่นที่ลงสนาม 6 คน
3. รูปแบบการรับลูกเสริฟ
4. รูปแบบการรุก
5. รูปแบบการรองบอล
6. รูปแบบการรับ
2. ตำแหน่งของผู้เล่นที่ลงสนาม 6 คน
3. รูปแบบการรับลูกเสริฟ
4. รูปแบบการรุก
5. รูปแบบการรองบอล
6. รูปแบบการรับ
ตำแหน่งของผู้เล่นในทีม
กระบวน
การเริ่มแรกของการสร้างทีมวอลเลย์บอลก็คือ
การพิจารณาคัดเลือกผู้เล่นแต่ละตำแหน่งเข้าร่วมทีม
เราควรจะต้องรู้ความสามารถของนักกีฬา ลักษณะทางกายภาพ
ความสามารถพิเศษของนักกีฬาแต่ละคนเป็นอย่างไร
และแต่ละทีมควรจะมีผู้เล่นลักษณะใดบ้างเพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จตามแนวทาง
ที่เราต้องการ
คุณสมบัติของผู้เล่นลักษณะต่าง ๆ
ผู้เล่นตบบอลหลัก
– จะเป็นผู้เล่นที่มีความสามารถในการตบบอลได้ดี มีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง
ความสามารถในการตบบอลของตัวตบบอลหลักสำหรับนักกีฬาชายควรประสบความสำเร็จใน
การตบบอลไม่น้อยกว่า 50 % ส่วนนักกีฬาหญิงควรไม่น้อยกว่า 40 %
ผู้เล่นตบบอลเร็ว –
จะเป็นผู้เล่นที่มีความสามารถในการตบบอลเร็วได้หลากหลาย เช่น
บอลเร็วหน้า/หลัง ห่างตัวเซต หรือการเขย่งตบ
และต้องมีการประสานงานกับผู้เล่นตัวเซตได้ดี
ผู้เล่นตัวเซต
– ทำหน้าที่เซตบอลให้ตัวตบในลักษณะต่างๆ มีความสามารถในการเซต
ควบคุมจังหวะ ทิศทางลูกบอลได้ดี โดยเฉพาะการเซตให้ผู้เล่นตัวตบบอลเร็ว
ผู้เล่นตัวเซตถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของทีม
ผู้เล่นอเนกประสงค์ – เป็นผู้เล่นที่มีความสามารถทุกทักษะเช่น การเซต การสกัดกั้น การตบ การเสริฟ และการรับลูกเสริฟ
Combined Attacker (ผู้เล่นตบบอล B หรือผู้เล่นที่ตำแหน่งตรงข้ามตัวเซต) – ผู้เล่นตำแหน่งนี้ที่มักเรียกกันว่าตัวตบบอล B จะ
มีความสามารถในการรุกแบบผสม รุกจากหัวเสาด้านหลัง และรุกจากแดนหลัง
ถ้าเป็นผู้เล่นที่ถนัดมือซ้ายจะได้เปรียบ
เป็นผู้เล่นที่ค่อนข้างมีความสำคัญต่อทีม
ผู้เล่นตัวรับ – แต่ละทีมนอกจากมีผู้เล่นตัวรับอิสระแล้ว อาจจะต้องมีผู้เล่นที่มีทักษะการรับที่ดีไว้ช่วยการรับของทีม
ตำแหน่งของผู้เล่นในสนาม
การ
วางตำแหน่งผู้เล่นในสนาม 6
คนแรกขึ้นอยู่กับระบบการเล่นที่เราจะเลือกใช้สำหรับทีม
ซึ่งเราต้องพิจารณาว่าจะใช้ระบบการเล่นใดที่จะเหมาะสมกับทีมเราที่สุด
(อ่านเพิ่มเติม)
1. ทำความรู้จักระบบการเล่น 1 http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/03/entry-1
2. ทำความรู้จักระบบการเล่น 2 http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/04entry-1
2. ทำความรู้จักระบบการเล่น 2 http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/04entry-1
การยืนตำแหน่งหลังจากการเสริฟ
เมื่อ
ทีมเป็นฝ่ายได้สิทธิ์ในการเสริฟ
หลังจากที่ผู้เล่นเสริฟบอลไปแล้วผู้เล่นทุกคนจะต้องยืนประจำตำแหน่งของตนเอง
เพื่อเตรียมทำการป้องกันการรุกของคู่ต่อสู้
โดยทั่วไปรูปแบบของตำแหน่งหลังจากการเสริฟมีดังนี้
รูปแบบที่ 1

ผู้เล่นแดนหลัง
– ผู้เล่นตำแหน่ง 2 และ 5
ยืนใกล้เส้นรุกเพื่อรอรับลูกหยอดหรือลูกตบบอลเร็ว ผู้เล่นตำแหน่ง 6
อยู่ตรงกลางห่างจากท้ายสนามประมาณ 1-2 เมตร
รูปแบบที่ 2

ผู้เล่นแดนหน้า – ตำแหน่งการยืนเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 1
ผู้เล่นแดนหลัง – ผู้เล่นตำแหน่ง 2 และ 5 ยืนห่างจากเส้นรุกประมาณ 2-3 เมตร ผู้เล่นตำแหน่ง 6 อยู่ใกล้เส้นรุกเพื่อรอรับบอลหยอดหรือบอลเร็ว
การรับลูกเสริฟ
การ
รับลูกเสริฟเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเล่นเป็นทักษะที่มีผลต่อการรุกของทีม
หากการรับลูกเสริฟของทีมไม่มีประสิทธิภาพ
โอกาสในการรุกทำคะแนนของทีมจะลดน้อยลงทันที
หลักการของการรับลูกเสริฟ –
เป้าหมายของการรับลูกเสริฟคือการบังคับลูกบอลให้ลอยไปยังพื้นที่การเซตของ
ผู้เล่นตัวเซตบริเวณหน้าตาข่าย
ซึ่งในสถานการณ์แข่งขันผู้เล่นตัวเซตจะอยู่บริเวณส่วนใดหน้าตาข่ายอาจขึ้น
อยู่กับแผนการรุก ไม่จำเป็นที่ผู้เล่นตัวเซตจะต้องอยู่ระหว่างตำแหน่ง 2 และ
3 เท่านั้น (ดูภาพประกอบ)


ตำแหน่งการยืนรับลูกเสริฟจะขึ้นอยู่กับความสามารถ ลักษณะการเสริฟของผู้เสริฟว่าเป็นอย่างไร หนัก เบา สั้นหรือยาว (ภาพประกอบ)


(อ่านเทคนิคการรับลูกเสริฟเพิ่มเติม)
1. Clip เทคนิคการรับลูกเสริฟแบบต่าง ๆ(1) http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/20/entry-1
2. เทคนิคการรับลูกเสริฟ (2) http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/21/entry-1
3. เทคนิคการรับลูกเสริฟ (ตอนจบ) http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/22/entry-1
2. เทคนิคการรับลูกเสริฟ (2) http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/21/entry-1
3. เทคนิคการรับลูกเสริฟ (ตอนจบ) http://www.oknation.net/blog/volleyball/2009/03/22/entry-1
รูปแบบการรับลูกเสริฟ
รูป
แบบการรับลูกเสริฟมีหลายรูปแบบในการเลือกใช้รูปแบบใดต้องพิจารณาให้เหมาะสม
กับความสามารถในการรับของผู้เล่นในทีม ระบบการรุกที่ทีมเลือกใช้
การรับแบบตัวเอ็ม W
การรับแบบตัวเอ็ม M

การรับแบบ Roof
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น